|   Choose Lanaguage       

Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
    • ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
    • กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
    • หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
    • ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
    • ภูมิประเทศอันหลากหลาย
    • หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
    • ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
    • อุทยานธรณีในปัจจุบัน
    • ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
    • กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
    • ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
      • โปสเตอร์ท่องเที่ยวตามอำเภอ
      • ฟอสซิลยุคแคมเบรียน
      • ฟอสซิลยุคออร์โดวิเชียน
      • ฟอสซิลยุคไซลูเรียน
      • ฟอสซิลยุคดีโวเนียน
      • ฟอสซิลยุคคาร์บอนิเฟอรัส
      • ฟอสซิลหลังยุคเพอร์เมียนลงมา
      • Geological Differences between Langkawi and Satun Geoparks
      • Biostratigraphy and Karst Morphology of Satun Aspiring Geopark
    • เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
    • โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
    • เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
  • แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
    • หมู่เกาะอาดัง
    • หาดกรวดหินงาม
    • เกาะหลีเป๊ะ
    • ซุ้มหินชายฝั่งเกาะไข่
    • หาดทรายขาว เกาะราวี
    • ปะการังเจ็ดสีบริเวณร่องน้ำจาบัง
    • หมู่เกาะดง
    • เกาะหินซ้อน
    • เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย
    • หาดปากบารา
    • หาดราไว
    • หาดสันหลังมังกร ตันหยงโป
    • ปราสาทหินพันยอด
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
    • ถ้ำเล สเตโกดอน
    • ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย
    • เขาทะนาน
    • น้ำตกธารปลิว
    • ถ้ำภูผาเพชร
    • น้ำตกวังสายทอง
    • ล่องแก่งวังสายทอง
    • ถ้ำเจ็ดคต
    • ถ้ำอุไรทอง
    • น้ำตกธารสวรรค์
    • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
  • แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
    • พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล
    • แมงดาทะเลโบราณเกาะตะรุเตา
    • ฟอสซิลนอติลอยด์เขาแดง
    • ลำดับชั้นหินเขาน้อย
    • ลานหินป่าพน
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์เขาน้อย
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์ท่าแร่
    • ฟอสซิลเขาโต๊ะสามยอด
    • พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า 
    • งานสตูลจีโอพาร์ค ฟอสซิลเฟสติวัล
  • แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
    • กลุ่มชาติพันธุ์เงาะป่ามันนิ (Mani Ethnic Group)
    • ประเพณีประเพณีลอยเรือ
    • ประเพณีไหว้ผีโบ๋
    • บ่อเจ็ดลูก
  • ผลิตภัณฑ์
    • Khao Coffee (karst topography)
    • ผ้ามัดย้อม ท่าอ้อย
    • หม้อข้าวหม้อแกงลิง
  • ติดต่อเรา
    • สมัครสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีสตูล
    • แบบสำรวจความคิดเห็น
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว
    • วิดีโอพรีเซนต์
Learn More
  • Home.
  • ประเพณีลอยเรือ “อูรักลาโว้ย”.

ประเพณีลอยเรือ “อูรักลาโว้ย”

“อูรักลาโว้ย” หมายถึง คนแห่งทะเล (sea – gypsy) เป็นเผ่าพันธุ์ดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งแห่งห้วงน้ำอันดามัน แต่เดิมชาวเลกลุ่มนี้เคยอาศัยอยู่แถบช่องแคบมะละกา ก่อนจะเข้ามาตั้งหลักแหล่งบนเกาะลันตา จากนั้นก็ขยายถิ่นฐานไปอีกหลายแห่ง ในเขตจังหวัดกระบี่ ภูเก็ต พังงา ระนอง และสตูลในราวทศวรรษ 2440 (สมัยรัชกาลที่ 5) ชาวเลกลุ่มแรกจากเกาะลันตา ได้เริ่มอพยพมาอยู่ที่เกาะหลีเป๊ะ โดยมี โต๊ะฆีรี เป็นผู้นำบุกเบิกสร้างบ้านเรือนและทำมาหากิน จึงนับว่าชาวเลบนเกาะลันตาและเกาะหลีเป๊ะมีบรรพบุรุษร่วมกัน เป็นเครือญาติกันจากเรื่องราวเล่าขาน โต๊ะฆีรีเป็นชาวมุสลิมจากอินโดนีเซีย แจวเรือมาจากอาเจะห์เมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว ระหว่างทางได้หยุดแวะพักที่ฆูนุงฌึรัย (มาเลเซีย) และได้ชวนเพื่อนรวม 4 คนไปตั้งถิ่นฐานที่เกาะลันตา แต่โต๊ะฆีรียังมีความตั้งใจจะเดินทางแสวงหาที่ทำกินต่อไป ไม่นานจึงมาถึงยังเกาะหลีเป๊ะ ซึ่งเป็นเกาะมีความอุดมสมบูรณ์ มีบึงน้ำอยู่กลางเกาะ ใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก และมีแหล่งทำมาหากินทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ในยุคดั้งเดิมชุมชนชาวเลยังมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ตามอ่าวที่หลบลมแรงได้ และตามชายหาดต่างๆ ที่มีน้ำจืด โดยนอกเหนือจากบนเกาะหลีเป๊ะแล้ว ยังพบว่าเคยมีหมู่บ้านเก่าตั้งอยู่ที่บริเวณชายหาด 8 แห่งบนเกาะอาดัง และอีก 3 แห่งบนเกาะราวีวิถีเดิมจะเป็นการทำประมงแบบยังชีพ ด้วยภูมิหลังของชาติพันธุ์ที่ผูกพันและเติบโตมากับท้องทะเล มีเรือที่ถือเป็นศูนย์กลางชีวิตของชาวเลอูรักลาโว้ย ถึงกับมีคำกล่าวว่า “ใครก็ตามหากไม่มีเรือก็เหมือนไม่มีแขนไม่มีขา” และมีเบ็ดตกปลา ฉมวกหรือชนัก เป็นเครื่องมือสำคัญในการจับปลาด้วยชาวเลถือเป็นชาวประมงที่รู้ซึ้งถึงสภาพภูมิศาสตร์ ธรรมชาติของพื้นที่ เช่น การขึ้นลงของน้ำ วงจรพระจันทร์ สภาพคลื่นลม การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและเวลา นอกจากจะทำประมงเป็นหลักแล้ว ยังได้ทำการเกษตร คือปลูกข้าวและมะพร้าวไว้บริโภคในครัวเรือนด้วยชาวเลอูรักลาโว้ยมักอธิบายวิถีของตัวเองในอดีตว่า “ดำหอยหน้าแล้ง ตกเบ็ดหน้ามรสุม” หอยที่มีมากก็เช่น หอยมือเสือ หอยมุก หอยนมสาว รวมทั้งกุ้งมังกร โดย “หอยจะมีมากมายแถบเกาะราวีและเกาะตง จะออกไปเก็บตอนกลางคืน ใช้ไต้ซึ่งทำมาจากน้ำมันยาง ถือไว้หรือผูกติดไว้ด้านหนึ่งของเรือ ผู้ชายคนหนึ่งจะพายเรือ อีก 2 -3 คนจะว่ายน้ำไปข้างๆ หอยมุกจะอยู่บนหิน ถ้าไปถูกที่จะพบหอยกลุ่มใหญ่ ต้องทอดสมอเรือไว้และเก็บหอยจนกว่าจะเต็มเรือ”ก่อนทศวรรษ 2490 ชาวเลที่เกาะหลีเป๊ะ จะมีวิธีที่เรียกว่า “บากัด” หมายถึง การออกไปหาอาหารในที่ไกลๆ โดยไปกันทั้งครอบครัว ระยะเวลาตั้งแต่ 2 – 3 วันจนถึงหลายเดือน ขึ้นอยู่กับระยะทาง สภาพอากาศ และอาหารที่หาได้ด้านภาษา แต่เดิมภาษาที่ใช้สื่อสารภายในชุมชน คือภาษาอูรักลาโว้ย ซึ่งเป็นภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน บางคนสามารถใช้ภาษามาเลย์และภาษาไทยท้องถิ่น ต่อมาเมื่อเกาะหลีเป๊ะเปิดรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น ชาวเลจึงใช้ภาษาไทยได้ดีขึ้น และกลุ่มที่ต้องทำงานบริการก็สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ด้วยการแต่งกาย ผู้ชายมักนุ่งโสร่งหรือกางเกงขายาว ไม่นิยมสวมเสื้อ ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้ากระโจมอกผืนเดียว ไม่สวมเสื้อเช่นกัน แต่ปัจจุบันมีการแต่งกายตามสมัยนิยมของคนเมืองมากขึ้นส่วนประเพณีและพิธีกรรม ในยุคแรกของการตั้งถิ่นฐาน ชาวเลยังไม่มีการนับถือศาสนาใด แต่จะนับถือภูตผีและวิญญาณบรรพบุรุษ มีประเพณีและพิธีกรรมที่สำคัญ คือ

         ประเพณีลอยเรือ จัดขึ้นปีละสองครั้ง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 11 เพื่อแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ และเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปกับการลอยเรือ เรือจะสร้างด้วยไม้ระกำ แต่ละครอบครัวจะนำอาหารและขนมไปทำพิธีเคารพและขอขมาบรรพบุรุษที่ศาลทวดโต๊ะฆีรี กลางคืนมีการแสดงรำมะนา เต้นรำตามจังหวะดนตรีวันต่อมาจะมีการไปตัดไม้ระกำมาสร้างเรือ และตกแต่งเป็นลวดลายสวยงาม โต๊ะหมอทำพิธีเชิญบรรพบุรุษให้นำสิ่งชั่วร้ายลงเรือ แล้วจึงนำเรือออกไปลอยให้พ้นจากเกาะหลีเป๊ะ

         พิธียาปินยู เป็นการบูชาเต่าทะเล โดยทำพิธีในช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 หรือเดือน 11 เพื่อให้เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ไม่ให้สูญพันธุ์ พิธีตูลาบาบา เป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ เมื่อชาวเลมีโรคภัยไข้เจ็บมาก พิธีปูยาลาโว้ย เป็นการบูชาทางทะเล ในช่วง 15 ค่ำ เดือน 11 เพื่อให้สัตว์น้ำเข้ามารวมกัน ชาวเลจะได้มีอาหารอุดมสมบูรณ์นอกจากนี้ยังมีความเชื่อด้านไสยศาสตร์ การทำยาเสน่ห์จากน้ำตาปลาดุหยง (พะยูน) การใช้คาถาเวทมนต์ เครื่องรางของขลัง ปัจจุบันพิธีกรรมเดิมลดความสำคัญลง ผนวกให้คงเหลือเพียงพิธีลอยเรือ และเปลี่ยนรูปแบบเป็นเรือหางยาว โดยนอกจากจะทำตามประเพณีเดิมแล้วยังจัดขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมด้วยทุกวันนี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการรับวัฒนธรรมภายนอก การเข้ามาของประมงเชิงพาณิชย์และธุรกิจการท่องเที่ยว ส่งผลให้เกาะหลีเป๊ะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โด่งดัง ปัจจัยสำคัญเหล่านี้จึงมีผลต่อชีวิตและวัฒนธรรม บทบาทของชาวเลทั้งชายและหญิงมีหน้าที่ในการทำงานอื่นมากขึ้นอีกทั้งการใช้ภาษาอูรักลาโว้ย ซึ่งจากเดิมเคยเป็นภาษาหลัก แต่เด็กชาวเลรุ่นใหม่หันมาใช้ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาไทยกลางมากขึ้น เกิดอาชีพที่เกี่ยวกับการบริการท่องเที่ยว พร้อมๆ กับค่านิยมทางวัตถุที่มากขึ้น สวนทางกับวิถีดั้งเดิมที่ลดน้อยและปรับเปลี่ยนไปตามกาล

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
    • ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
    • กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
    • หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
    • ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
    • ภูมิประเทศอันหลากหลาย
    • หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
    • ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
    • อุทยานธรณีในปัจจุบัน
    • ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
    • กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
    • ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
      • โปสเตอร์ท่องเที่ยวตามอำเภอ
      • ฟอสซิลยุคแคมเบรียน
      • ฟอสซิลยุคออร์โดวิเชียน
      • ฟอสซิลยุคไซลูเรียน
      • ฟอสซิลยุคดีโวเนียน
      • ฟอสซิลยุคคาร์บอนิเฟอรัส
      • ฟอสซิลหลังยุคเพอร์เมียนลงมา
      • Geological Differences between Langkawi and Satun Geoparks
      • Biostratigraphy and Karst Morphology of Satun Aspiring Geopark
    • เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
    • โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
    • เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
  • แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
    • หมู่เกาะอาดัง
    • หาดกรวดหินงาม
    • เกาะหลีเป๊ะ
    • ซุ้มหินชายฝั่งเกาะไข่
    • หาดทรายขาว เกาะราวี
    • ปะการังเจ็ดสีบริเวณร่องน้ำจาบัง
    • หมู่เกาะดง
    • เกาะหินซ้อน
    • เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย
    • หาดปากบารา
    • หาดราไว
    • หาดสันหลังมังกร ตันหยงโป
    • ปราสาทหินพันยอด
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
    • ถ้ำเล สเตโกดอน
    • ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย
    • เขาทะนาน
    • น้ำตกธารปลิว
    • ถ้ำภูผาเพชร
    • น้ำตกวังสายทอง
    • ล่องแก่งวังสายทอง
    • ถ้ำเจ็ดคต
    • ถ้ำอุไรทอง
    • น้ำตกธารสวรรค์
    • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
  • แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
    • พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล
    • แมงดาทะเลโบราณเกาะตะรุเตา
    • ฟอสซิลนอติลอยด์เขาแดง
    • ลำดับชั้นหินเขาน้อย
    • ลานหินป่าพน
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์เขาน้อย
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์ท่าแร่
    • ฟอสซิลเขาโต๊ะสามยอด
    • พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า 
    • งานสตูลจีโอพาร์ค ฟอสซิลเฟสติวัล
  • แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
    • กลุ่มชาติพันธุ์เงาะป่ามันนิ (Mani Ethnic Group)
    • ประเพณีประเพณีลอยเรือ
    • ประเพณีไหว้ผีโบ๋
    • บ่อเจ็ดลูก
  • ผลิตภัณฑ์
    • Khao Coffee (karst topography)
    • ผ้ามัดย้อม ท่าอ้อย
    • หม้อข้าวหม้อแกงลิง
  • ติดต่อเรา
    • สมัครสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีสตูล
    • แบบสำรวจความคิดเห็น
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว
    • วิดีโอพรีเซนต์

สงวนลิขสิทธิ์ © 2560 อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark)