สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้จัดโครงการพัฒนา“ นักบริหารการตรวจเงินแผ่นดินระดับสูง” รุ่นที่ ๔ ให้กับข้าราชการตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับสูงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สังกัดส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ลงพื้นที่ดูงานอุทยานธรณีโลกสตูลโดยมี นายธนพล โกมารกุล ณ นคร รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหัวหน้าคณะลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 15-17 กันยายน 2563
วันที่ 15 กันยายน 2563 นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโลกสตูลบรรยายการบริหารอุทยานธรณีแบบองค์รวมและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีคณะร่วมต้อนรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ทางคณะได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์และศึกษาดูงานวิสหากิจชุมชนตำบลทุ่งหว้า
กลุ่มวิสหากิจสวนควนข้องหม้อข้าวหม้อแกงลิง พืชดึกดำบรรพ์ที่ใกล้จะสูญพันธ์ุที่นำมาอนุรักษ์และทำเป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้และการนำหม้อของต้นมาใส่ข้าวเหนียวที่สามารถหาดูได้ยากและที่นี้ยังคงอนุรักษ์วิถีคนสมัยก่อน
กลุ่มวิสหากิจรองเท้านารีขาวสตูล พืชกล้วยไม้ที่เกิดบนภูเขาหินปูนที่มีความสำคัญเป็นพืชที่ปลูกยากที่สุดและนำมาสู่วิธีการอนุรักษ์การขยายพันธุ์พืชโดยชาวบ้าน
วิสหากิจคลุ้มตำบลนาทอน เป็นกลุ่มที่นำกลุ่มชาวบ้านสร้างรายได้จากการว่างงานมาจัดสานคลุ้มโดยนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่มาสร้างรายได้ให้กับคนในท้องที่
วันที่ 16 กันยายน 2563 คณะสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินศึกษาดูงานพื้นที่แหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญของอุทยานธรณีโลกสตูลลงแหล่งพื้นที่เขาน้อยและถ้ำอุไรทอง
ศึกษาดูงานหลักสูตรอุทยานธรณีโลกสตูลและการมีส่วนรวมของเด็กนักเรียน ณ โรงเรียนกำแพงวิทยา ตำบลกำแพง อำเภอละงู
เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา อำเภอละงู อุทยานเภตราต้อนรับด้วยบทเพลงจากวงกัวลาบาราที่สื่อถึงการเป็นอุทยานธรณีโลกสตูลผ่านบทเพลงและศึกษาดูงานการร่วมมือกันของอุทยานธรณีสตูลกับอุทยานเภตราในการดูแลทรัพยากรและการอนุรักษ์โดยการมีส่วนร่วมทั้งสองฝ่าย
วันที่ 17 กันยายน 2563 คณะลงพื้นที่ชุมชนกลุ่มปันหยาบาติกที่มีลวดลายของผ้าที่สื่อถึงแผ่นดินที่เก่าแก่นั้นคือลวดลายของฟอสซิลโบราณในมหายุคพาลีโอโซอิก และการนำสีดินสีจากธรรมชาติมาย้อมบนผ้า