“บาติก ศิลปะที่นำเสนอเรื่องราวของอุทยานธรณีสตูล” ลวดลายที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวทางธรณีวิทยา ลวดลายผ้าบาติกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันหยาบาติกมีความพิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากมีการพัฒนาและออกแบบวาดลวดลายที่สอดคล้องกับเรื่องราวทางธรณีวิทยาของอุทยานธรณีสตูลโดยประยุกต์ ประยุกต์เอาภาพจำลองสภาพแวดล้อมทะเลโบราณในยุคออร์โดวิเชียนหรือเมื่อประมาณ 444 ล้านปีก่อน มาทำเป็นลายผ้าโดยมี ปลาหมึกโบราณหรือนอติลอยด์ และไทรโลไบท์ เป็นตัวเอก
การใช้วัสดุจากอุทยานธรณี
การใช้วัสดุธรรมชาติ พวกแร่ธาตุ ใบไม้ เปลือกไม้ ผลไม้ ที่เกิดในพื้นที่อุทยาน มาทำเป็นวัสดุย้อมสี เช่น สีแดงที่ได้จากดินที่ผุผังจากพื้นที่หินปูนที่ได้สีแดงจากธาตุเหล็ก สีเหลืองจากโคลน สีน้ำตาลจากเปลือกโกงกาง เป็นต้น ถือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อุทยานธรณี
บทบาทของกลุ่มแม่บ้าน
กลุ่มได้รวบรวมแม่บ้านในพื้นที่ละงูมาเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำผ้าบาติก การเขียนลาย และเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของโรงเรียนในพื้นที่อำเภอละงูอีกด้วย