|   Choose Lanaguage       

Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
    • ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
    • กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
    • หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
    • ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
    • ภูมิประเทศอันหลากหลาย
    • หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
    • ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
    • อุทยานธรณีในปัจจุบัน
    • ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
    • กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
    • ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
      • โปสเตอร์ท่องเที่ยวตามอำเภอ
      • ฟอสซิลยุคแคมเบรียน
      • ฟอสซิลยุคออร์โดวิเชียน
      • ฟอสซิลยุคไซลูเรียน
      • ฟอสซิลยุคดีโวเนียน
      • ฟอสซิลยุคคาร์บอนิเฟอรัส
      • ฟอสซิลหลังยุคเพอร์เมียนลงมา
      • Geological Differences between Langkawi and Satun Geoparks
      • Biostratigraphy and Karst Morphology of Satun Aspiring Geopark
    • เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
    • โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
    • เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
  • แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
    • หมู่เกาะอาดัง
    • หาดกรวดหินงาม
    • เกาะหลีเป๊ะ
    • ซุ้มหินชายฝั่งเกาะไข่
    • หาดทรายขาว เกาะราวี
    • ปะการังเจ็ดสีบริเวณร่องน้ำจาบัง
    • หมู่เกาะดง
    • เกาะหินซ้อน
    • เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย
    • หาดปากบารา
    • หาดราไว
    • หาดสันหลังมังกร ตันหยงโป
    • ปราสาทหินพันยอด
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
    • ถ้ำเล สเตโกดอน
    • ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย
    • เขาทะนาน
    • น้ำตกธารปลิว
    • ถ้ำภูผาเพชร
    • น้ำตกวังสายทอง
    • ล่องแก่งวังสายทอง
    • ถ้ำเจ็ดคต
    • ถ้ำอุไรทอง
    • น้ำตกธารสวรรค์
    • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
  • แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
    • พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล
    • แมงดาทะเลโบราณเกาะตะรุเตา
    • ฟอสซิลนอติลอยด์เขาแดง
    • ลำดับชั้นหินเขาน้อย
    • ลานหินป่าพน
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์เขาน้อย
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์ท่าแร่
    • ฟอสซิลเขาโต๊ะสามยอด
    • พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า 
    • งานสตูลจีโอพาร์ค ฟอสซิลเฟสติวัล
  • แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
    • กลุ่มชาติพันธุ์เงาะป่ามันนิ (Mani Ethnic Group)
    • ประเพณีประเพณีลอยเรือ
    • ประเพณีไหว้ผีโบ๋
    • บ่อเจ็ดลูก
  • ผลิตภัณฑ์
    • Khao Coffee (karst topography)
    • ผ้ามัดย้อม ท่าอ้อย
    • หม้อข้าวหม้อแกงลิง
  • ติดต่อเรา
    • สมัครสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีสตูล
    • แบบสำรวจความคิดเห็น
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว
    • วิดีโอพรีเซนต์
Learn More
  • Home.
  • เกาะไข่.

เกาะไข่

เกาะไข่ หรือเกาะตะรัง เป็นเกาะเล็กๆ (ขนาดราว 200 x 300 เมตร) ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างเกาะตะรุเตากับเกาะอาดัง และเกาะหลีเป๊ะ โดยอยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร ปรกติแล้วหากนั่งเรือโดยสารจากท่าเรือปากบารา เรือจะแวะจอดที่อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตาเป็นจุดแรก และใช้เวลาอีกราว 30 นาที สัมผัสแรกยามเดินทางมาถึง และก้าวลงจากเรือเพื่อจะเดินไปสู่ซุ้มหิน เม็ดทรายละเอียดนุ่มเท้าสะท้อนแสงขาวจ้า แทรกแซมด้วยเปลือกหอยเล็กน้อยในบางบริเวณ แผ่ผืนอยู่รายรอบราวกับเป็นพรมผืนงาม และถักทอต่อเติมด้วยแมกไม้เขียวขจีบนเกาะ มองด้วยจินตนาการจากภาพมุมสูง รูปร่างเกาะไข่มีส่วนคล้ายนก ที่มีส่วนปากและหัวอยู่ทางด้านทิศเหนือ และมีส่วนขาอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเกาะ ตรงส่วนขาข้างหนึ่งของนกนี้เองที่มีประติมากรรมธรรมชาติอันถูกสลักเสลามาจากคลื่นน้ำและกระแสลมมาเนิ่นนาน กระทั่งปรากฏเป็นซุ้มหินชายฝั่งที่น่าตรึงใจ นักธรณีวิทยา อธิบายเพิ่มเติมว่า ซุ้มหินชายฝั่งทะเล (Sea arch) จัดเป็นภูมิลักษณ์ชายฝั่งทะเลแบบหนึ่ง บริเวณพื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลกับแผ่นดิน ซึ่งเป็นพื้นที่พลวัตรที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อคงสภาพความสมดุลตามธรรมชาติ การเกิดภูมิลักษณ์ชายฝั่งทะเลรูปแบบต่างๆ จะมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในอดีต เมื่อราว 10,000 ปีที่ผ่านมา เมื่อน้ำทะเลสูงขึ้นและไหลท่วมเข้ามาบนแผ่นดิน โดยขึ้นสูงสุดราว 4 เมตร (จากระดับน้ำทะเลปัจจุบัน) เมื่อ 6,000 ปีที่ผ่านมา ก่อนค่อยๆ ลดระดับลงจนมาอยู่ในระดับปัจจุบันเมื่อราว 1,000 ปีที่ผ่านมา ผลจากการกระทำของพลังคลื่น น้ำขึ้นน้ำลง กระแสลม และการขัดสีของทรายที่ถูกพัดพามาด้วย ทำให้หน้าผาหินที่ยื่นออกไปในทะเล หรือหัวแหลมบริเวณชายฝั่ง เกิดการกัดเซาะจนเปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม พลังจากลมและน้ำที่กระแทกเป็นวงจรอยู่ซ้ำๆ เนิ่นนาน ทำให้เกิดแรงดันเข้ากัดเซาะตามรอยแตก รอยแยกในเนื้อหิน หรือตรงบริเวณที่มีรอยเลื่อน รอยคดโค้งในชั้นหินมาก กระทั่งรอยเหล่านั้นขยายใหญ่ขึ้น แล้วผุพังสึกกร่อน สุดท้าย หินบริเวณนั้นก็จะแตกหักและพังลงทั้งสองด้าน เกิดเป็นช่องทะลุเข้าหากันได้ เรียกว่า “ซุ้มหินทะเล” ช่องว่างนี้จะกว้างขึ้นตามกาลเวลา ถ้ากว้างจนส่วนบนของซุ้มหินขาดออกจากกันเหลือเพียงคานหรือเสาซุ้มด้านหนึ่ง เรียกว่า “เกาะหินโด่ง” (stack) ส่วนรอยหยักที่เกิดขึ้นเป็นแนวตอนล่างของหน้าผาหรือแหลมหิน เป็นรอยการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล เรียกว่า “รอยน้ำเซาะหิน” (notch) ภูมิลักษณ์แบบนี้ส่วนใหญ่เกิดในหินตะกอน โดยเฉพาะในหินทราย หรือบริเวณที่มีหินหลายชนิดเกิดสลับชั้นกัน แหล่งที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก ก็เช่น ซุ้มหินชายฝั่งหาดผาแดงที่จังหวัดชุมพร แหลมจมูกควาย จังหวัดกระบี่ และที่เกาะไข่ จังหวัดสตูลแห่งนี้ ถ้าลองพิจารณาแบบชิดใกล้ ซุ้มหินชายฝั่งทะเลที่เกาะไข่ เกิดจากหินตะกอนชนิดหินทราย (กลุ่มหินแก่งกระจาน) พบแนวรอยเลื่อน และรอยคดโค้งในโครงสร้างของชั้นหิน ส่งผลต่อเนื่องให้หินเหล่านี้มีรอยแตก (joint) รอยแยก (fracture) ถี่หลายทิศทาง ด้วยรอยแตกที่พบมากนี้เอง หินบริเวณหัวแหลม ซึ่งตั้งตระหง่านท้าทายคลื่นน้ำ กระแสลมและกาลเวลามาเนิ่นนาน จึงไม่อาจคงทนต่อการกัดเซาะได้ ก่อเกิดรูปลักษณ์เป็นช่องโพรงทะลุเข้าหากันอย่างที่เห็น ที่น่าสังเกตอีกอย่าง คือในบางบริเวณจะพบริ้วสีน้ำตาลเข้มของพวกเหล็กออกไซด์ เข้าไปสะสมตัวอยู่ตามแนวรอยแตก มองคล้ายโครงตาข่ายที่ช่วยยึดให้เนื้อหินบางส่วนยังคงทนทานอยู่ได้ ซุ้มหินชายฝั่งที่เกาะไข่ จึงมีทั้งส่วนที่ถูกกัดเซาะเป็นโพรง และมีทั้งส่วนที่ยังแกร่งต่อการกร่อนสลาย ก่อรูปลักษณ์งดงามตามธรรมชาติ คล้ายซุ้มประตูและสะพานที่ทอดตัวโค้งจากแนวโขดหินบนเกาะสู่เวิ้งน้ำทะเล เชิญชวนให้คู่รักและนักเดินทางต้องมาสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้ง

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
    • ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
    • กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
    • หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
    • ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
    • ภูมิประเทศอันหลากหลาย
    • หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
    • ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
    • อุทยานธรณีในปัจจุบัน
    • ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
    • กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
    • ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
      • โปสเตอร์ท่องเที่ยวตามอำเภอ
      • ฟอสซิลยุคแคมเบรียน
      • ฟอสซิลยุคออร์โดวิเชียน
      • ฟอสซิลยุคไซลูเรียน
      • ฟอสซิลยุคดีโวเนียน
      • ฟอสซิลยุคคาร์บอนิเฟอรัส
      • ฟอสซิลหลังยุคเพอร์เมียนลงมา
      • Geological Differences between Langkawi and Satun Geoparks
      • Biostratigraphy and Karst Morphology of Satun Aspiring Geopark
    • เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
    • โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
    • เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
  • แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
    • หมู่เกาะอาดัง
    • หาดกรวดหินงาม
    • เกาะหลีเป๊ะ
    • ซุ้มหินชายฝั่งเกาะไข่
    • หาดทรายขาว เกาะราวี
    • ปะการังเจ็ดสีบริเวณร่องน้ำจาบัง
    • หมู่เกาะดง
    • เกาะหินซ้อน
    • เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย
    • หาดปากบารา
    • หาดราไว
    • หาดสันหลังมังกร ตันหยงโป
    • ปราสาทหินพันยอด
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
    • ถ้ำเล สเตโกดอน
    • ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย
    • เขาทะนาน
    • น้ำตกธารปลิว
    • ถ้ำภูผาเพชร
    • น้ำตกวังสายทอง
    • ล่องแก่งวังสายทอง
    • ถ้ำเจ็ดคต
    • ถ้ำอุไรทอง
    • น้ำตกธารสวรรค์
    • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
  • แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
    • พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล
    • แมงดาทะเลโบราณเกาะตะรุเตา
    • ฟอสซิลนอติลอยด์เขาแดง
    • ลำดับชั้นหินเขาน้อย
    • ลานหินป่าพน
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์เขาน้อย
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์ท่าแร่
    • ฟอสซิลเขาโต๊ะสามยอด
    • พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า 
    • งานสตูลจีโอพาร์ค ฟอสซิลเฟสติวัล
  • แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
    • กลุ่มชาติพันธุ์เงาะป่ามันนิ (Mani Ethnic Group)
    • ประเพณีประเพณีลอยเรือ
    • ประเพณีไหว้ผีโบ๋
    • บ่อเจ็ดลูก
  • ผลิตภัณฑ์
    • Khao Coffee (karst topography)
    • ผ้ามัดย้อม ท่าอ้อย
    • หม้อข้าวหม้อแกงลิง
  • ติดต่อเรา
    • สมัครสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีสตูล
    • แบบสำรวจความคิดเห็น
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว
    • วิดีโอพรีเซนต์

สงวนลิขสิทธิ์ © 2560 อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark)