เกาะหินซ้อน หรือเกาะหินตั้ง เป็นเกาะเล็กๆ ที่มีก้อนหินแกรนิตขนาดใหญ่ วางซ้อนกันอยู่อย่างโดดเด่นสะดุดตา ภูมิลักษณ์ที่เห็นเกิดจากการสึกกร่อนผุพังของหินตามแนวรอยแตก (joint set) ซึ่งมีทั้งในแนวตั้งและแนวนอน จากตัวการที่สำคัญ คือสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิ น้ำ และลม โดยทั่วไปแล้ว หินแกรนิตเมื่อผุพังจะมีการเปลี่ยนสภาพของแร่ประกอบหิน มีการแตกออกเป็นกาบ คล้ายกาบกะหล่ำปลี แล้วหลุดลอกออกเป็นแผ่น ทำให้ส่วนของหินแข็งด้านในที่เหลืออยู่มีรูปร่างกลมมน หรือทรงรีวางอยู่บนหน้าหิน อีกแบบคือการผุพังตามรอยแตก รอยแยกในหิน ทำให้รอยเหล่านั้นขยายใหญ่ขึ้น โดยอาจมีน้ำช่วยเป็นตัวกัดเซาะให้เนื้อหินหลุดออกจากกันได้เร็วขึ้น จนหินแกรนิตแตกออกเป็นรูปร่างคล้ายทรงเหลี่ยมซ้อนกันอยู่อย่างที่เห็น โดยขนาดของหินแกรนิตที่คงเหลือก็ขึ้นอยู่กับความถี่ – ห่าง และทิศทางของรอยแตกหรือรอยเลื่อนบริเวณด้วย เกาะหินซ้อนเป็นอีกจุดหนึ่งที่นักเดินทางนิยมนั่งเรือไปชม ด้วยระยะไม่ไกลจากเกาะอาดังและเกาะหลีเป๊ะ บางทีการพาตัวเองไปถึงเกาะนี้ และได้เห็นภาพหินแกร่งที่ยังมีวันแตก (แต่ไม่ยอมตก) อาจทำให้บางหัวใจที่ซับซ้อนอ่อนไหว หรือกำลังจะแตกสลายได้คลี่คลายลง
- หน้าแรก
- เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
- ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
- กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
- หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
- ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
- ภูมิประเทศอันหลากหลาย
- หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
- ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
- อุทยานธรณีในปัจจุบัน
- ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
- กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
- ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
- เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
- โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
- เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
- แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
- แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
- แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
- ผลิตภัณฑ์
- ติดต่อเรา