แหล่งซากดึกดำบรรพ์อ่าวนุ่น บ้านตะโละใส ต.ปากน้ำ อ.ละงู จังหวัดสตูล มีลักษณะเป็นเวิ้งหาดทรายรูปครึ่งวงกลมที่ถูกขนาบด้วยเขาโต๊ะหงายและเขาอ่าวนุ่น มีถ้ำหินปูนขนาดประมาณ กว้าง 2 เมตร สูง 5 เมตร ลึก 15 เมตร แสดงการวางตัวของหินปูนชันเจนแนว dip angle 60 องศา /dip dipdirection 118 องศา และยังมีถ้ำขนาดเล็กอีกมากบริเวณเชิงเขาอ่าวนุ่นตลอดความยาวประมาณ 800 เมตร ถ้ำเหล่านี้เกิดอยู่ในหินปูนสีแดงยุคออร์โดวิเชียน (อายุประมาณ 470 ล้านปี) เมื่อหินปูนถูกคลื่นลมกัดเซาะเป็นเวลานาน ส่วนที่มีความคงทนต่ำเช่น บริเวณที่เป็นรอยต่อของชั้นหิน และบริเวณที่หินมีรอยแตกรอยแยก ก็จะค่อยๆกร่อนออกไปจนกลายเป็นโพรงถ้ำในที่สุด และเนื่องจากถ้ำถูกขัดสีโดยคลื่นเกือบจะตลอดเวลา จึงทำให้บริเวณพื้นและผนังถ้ำมีความเรียบมากและเป็นมันเงา ทำให้ซากดึกดำบรรพ์ที่อยู่ในหินปรากฎเด่นชัดออกมา อาทิ ปลาหมึกทะเลโบราณหรือนอติลอยด์ ส่วนปล้องของพลับพลึงทะเลโบราณ และสาหร่ายสโตรมาโตไลท์ เป็นต้น
- หน้าแรก
- เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
- ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
- กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
- หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
- ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
- ภูมิประเทศอันหลากหลาย
- หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
- ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
- อุทยานธรณีในปัจจุบัน
- ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
- กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
- ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
- เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
- โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
- เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
- แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
- แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
- แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
- ผลิตภัณฑ์
- ติดต่อเรา