|   Choose Lanaguage       

Menu
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
    • ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
    • กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
    • หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
    • ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
    • ภูมิประเทศอันหลากหลาย
    • หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
    • ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
    • อุทยานธรณีในปัจจุบัน
    • ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
    • กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
    • ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
      • โปสเตอร์ท่องเที่ยวตามอำเภอ
      • ฟอสซิลยุคแคมเบรียน
      • ฟอสซิลยุคออร์โดวิเชียน
      • ฟอสซิลยุคไซลูเรียน
      • ฟอสซิลยุคดีโวเนียน
      • ฟอสซิลยุคคาร์บอนิเฟอรัส
      • ฟอสซิลหลังยุคเพอร์เมียนลงมา
      • Geological Differences between Langkawi and Satun Geoparks
      • Biostratigraphy and Karst Morphology of Satun Aspiring Geopark
    • เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
    • โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
    • เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
  • แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
    • หมู่เกาะอาดัง
    • หาดกรวดหินงาม
    • เกาะหลีเป๊ะ
    • ซุ้มหินชายฝั่งเกาะไข่
    • หาดทรายขาว เกาะราวี
    • ปะการังเจ็ดสีบริเวณร่องน้ำจาบัง
    • หมู่เกาะดง
    • เกาะหินซ้อน
    • เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย
    • หาดปากบารา
    • หาดราไว
    • หาดสันหลังมังกร ตันหยงโป
    • ปราสาทหินพันยอด
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
    • ถ้ำเล สเตโกดอน
    • ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย
    • เขาทะนาน
    • น้ำตกธารปลิว
    • ถ้ำภูผาเพชร
    • น้ำตกวังสายทอง
    • ล่องแก่งวังสายทอง
    • ถ้ำเจ็ดคต
    • ถ้ำอุไรทอง
    • น้ำตกธารสวรรค์
    • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
  • แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
    • พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล
    • แมงดาทะเลโบราณเกาะตะรุเตา
    • ฟอสซิลนอติลอยด์เขาแดง
    • ลำดับชั้นหินเขาน้อย
    • ลานหินป่าพน
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์เขาน้อย
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์ท่าแร่
    • ฟอสซิลเขาโต๊ะสามยอด
    • พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า 
    • งานสตูลจีโอพาร์ค ฟอสซิลเฟสติวัล
  • แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
    • กลุ่มชาติพันธุ์เงาะป่ามันนิ (Mani Ethnic Group)
    • ประเพณีประเพณีลอยเรือ
    • ประเพณีไหว้ผีโบ๋
    • บ่อเจ็ดลูก
  • ผลิตภัณฑ์
    • Khao Coffee (karst topography)
    • ผ้ามัดย้อม ท่าอ้อย
    • หม้อข้าวหม้อแกงลิง
  • ติดต่อเรา
    • สมัครสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีสตูล
    • แบบสำรวจความคิดเห็น
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว
    • วิดีโอพรีเซนต์
Learn More
  • Home.
  • ป่าวังใต้หนาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด.

ป่าวังใต้หนาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด


การท่องเที่ยวเชิงผจญภัยถือเป็นเสน่ห์…ของอุทยานธรณีโลกสตูล โดยเฉพาะในอำเภอมะนัง เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีสภาพป่าที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ป่าดิบชื้นและป่าเขาหินปูน โดยพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบชื้นประมาณ 80% ของพื้นที่ทั้งหมด ภูเขามีลักษณะเป็นดินมากกว่าหิน เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์แหล่งรวมพืชพรรณไม้ต่างๆ และเป็นต้นน้ำสายสำคัญใน 4 จังหวัดอีกด้วย โดยนักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยเดินป่า…เพื่อศึกษาธรรมชาติ ชมทิวทัศน์ ป่าโบราณ ไม่ควรพลาดกับเส้นทาง “เดินป่าวังใต้หนาน” ยิ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีธรรมชาติที่สวยงามแปลกตาให้ได้สัมผัสอีกแบบ เริ่มต้นออกเดินทาง…จากหน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร เดินเท้าไปตามเส้นทางก็จะพบกับต้นไม้ใหญ่ที่ปกคลุมไปทั่วบริเวณ……ทั้งไม้ตระกูลยาง หลุมพอ ต้นหมากพน ต้นตะเคียนต่างๆ รวมทั้ง ต้นวาสนา และสมุนไพรอย่างเช่น…ไหลเผือกอีกด้วยนอกจากนี้ยังพบต้น “ทองบึ้ง” ขนาดใหญ่ที่ยังยืนต้นสมบูรณ์ รวมถึงยังมีอีกหลายต้นที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณฝืนป่า แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์มีมาอย่างยาวนาน ในบริเวณพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดเส้นทางป่าวังใต้หนาน…. มีน้ำตกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นไฮไลท์สำคัญนั้นก็คือ “น้ำตกวังใต้หนาน” เป็นน้ำตกที่มีขนาด 9 ชั้น โดยเฉพาะชั้นแรกมีความสูงและลาดเอียง น้ำฟุ้งกระเซ็นเป็นแนวกว้างดูสวยงาม…โดยเป็นสันปันน้ำแบ่งเป็นสองสาย สายหนึ่งไหลไปทางจังหวัดพัทลุง อีกสายหนึ่งไหลมายังจังหวัดสตูล ในอดีตบริเวณน้ำตกวังใต้หนานเคยเป็นค่ายคอมมิวนิสต์ โดยยังมีร่องรอยที่ตั้งเรือนพยาบาล โรงครัวและหลุมหลบภัย จึงถือเป็นน้ำตกประวัติศาสตร์ของจังหวัดสตูล  นอกจากนี้บริเวณน้ำตกวังใต้หนานยังเป็นเส้นทางเดินและสถานที่ตั้งทับชั่วคราวของกลุ่ม “มานิ” หรือ “เซมัง” ซึ่งเป็นเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่มีชีวิตผูกพันกับผืนป่าอาศัยอยู่อีกด้วย ปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ สตูล สงขลา ตรัง และ จังหวัดพัทลุง และมีการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หลากหลายรูปแบบ ทั้งท่องเที่ยวเดินป่า เที่ยวชมน้ำตก และเป็นน้ำตกที่มีน้ำตลอดปี เป็นดัชนีบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแห่งเทือกเขาบรรทัดได้เป็นอย่างดี

สถานที่ตั้ง: หน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล อยู่ห่างจากอำเภอมะนังเป็นระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร  พื้นที่แหล่งเป็นส่วนหนึ่งของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด มีขนาดเนื้อที่ประมาณ 1.5 ตารางกิโลเมตร ขอบเขตด้านเหนือสุดอยู่บริเวณวังกลอย ขอบเขตด้านใต้สุดเป็นสำนักงานหน่วยพิทักษ์ป่าภูผาเพชร ความกว้างของพื้นที่ประมาณ 1 กิโลเมตรในแนวตะวันตก-ตะวันออก และความยาวของพื้นที่ประมาณ 1.5 กิโลเมตรในแนวเหนือ-ใต้ เป็นพื้นที่ภูเขาปกคลุมด้วยผืนป่าฝนเขตร้อน มีลำธารสายเล็กไหลผ่านกลางพื้นที่ ด้านเหนือของลำธารมีหินทรายยุคแคมเบรียนโผล่ ส่วนด้านใต้มีหิรปูนยุคออร์โดวิเชียนโผล่เห็นเป็นเขาหินปูนลูกเล็กกระจัดกระจาย พบหินแกรนิตโผล่เป็นหย่อมเล็กตามลำห้วย บ้างก็เป็นกรวดหินแกรนิตตามท้องน้ำลำห้วย ด้วยมีหินแกรนิตโผล่ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ พื้นที่ถูกปกคลุมไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่ บางต้นสูงมากกว่า 50 เมตรและมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 1 เมตร ผืนป่าประกอบด้วยต้นไม้สูงใหญ่หลากหลายชนิด เช่น ต้นโล่ตง ทองบึ้ง ไคร้ย้อย จิกน้ำ ยางนา สะตอ เต่าร้าง ขานาง กระเบา หลุมพอ ตะเคียนราก หาน ยวน เพรียง ตะเคียนทราย กฤษณา ไอกลิ้ง บกหยวก เหยื่อจง ขนุนป่า สไน และ มะเดื่อ เป็นต้น พื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของหมี เม่น ลิง ค่าง ชะนี เสือ ชะมด กระรอก กวาง เก้ง เลียงผา สมเสร็จ กระจง หมู ไก่ป่า หมูดิน หมีควาย และงูหลากหลายชนิด นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่ยังคงทิ้งร่องรอยของฐานที่มั่นของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และปัจจุบันก็ยังคงพบร่องรอยของมนุษย์ชาติพันธุ์มานิซึ่งเป็นมนุษย์ที่ยังคงใช้วิถีชีวิตที่อิงแอบคู่กับธรรมชาติดั้งเดิมไว้ได้ไม่มีที่พักอาศัยเป็นการถาวร

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
    • ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
    • กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
    • หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
    • ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
    • ภูมิประเทศอันหลากหลาย
    • หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
    • ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
    • อุทยานธรณีในปัจจุบัน
    • ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
    • กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
    • ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
      • โปสเตอร์ท่องเที่ยวตามอำเภอ
      • ฟอสซิลยุคแคมเบรียน
      • ฟอสซิลยุคออร์โดวิเชียน
      • ฟอสซิลยุคไซลูเรียน
      • ฟอสซิลยุคดีโวเนียน
      • ฟอสซิลยุคคาร์บอนิเฟอรัส
      • ฟอสซิลหลังยุคเพอร์เมียนลงมา
      • Geological Differences between Langkawi and Satun Geoparks
      • Biostratigraphy and Karst Morphology of Satun Aspiring Geopark
    • เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
    • โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
    • เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
  • แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
    • หมู่เกาะอาดัง
    • หาดกรวดหินงาม
    • เกาะหลีเป๊ะ
    • ซุ้มหินชายฝั่งเกาะไข่
    • หาดทรายขาว เกาะราวี
    • ปะการังเจ็ดสีบริเวณร่องน้ำจาบัง
    • หมู่เกาะดง
    • เกาะหินซ้อน
    • เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย
    • หาดปากบารา
    • หาดราไว
    • หาดสันหลังมังกร ตันหยงโป
    • ปราสาทหินพันยอด
  • แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
    • ถ้ำเล สเตโกดอน
    • ท่าเทียบเรือบ้านท่าอ้อย
    • เขาทะนาน
    • น้ำตกธารปลิว
    • ถ้ำภูผาเพชร
    • น้ำตกวังสายทอง
    • ล่องแก่งวังสายทอง
    • ถ้ำเจ็ดคต
    • ถ้ำอุไรทอง
    • น้ำตกธารสวรรค์
    • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด
  • แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
    • พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล
    • แมงดาทะเลโบราณเกาะตะรุเตา
    • ฟอสซิลนอติลอยด์เขาแดง
    • ลำดับชั้นหินเขาน้อย
    • ลานหินป่าพน
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์เขาน้อย
    • ฟอสซิลสโตรมาโตไลน์ท่าแร่
    • ฟอสซิลเขาโต๊ะสามยอด
    • พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า 
    • งานสตูลจีโอพาร์ค ฟอสซิลเฟสติวัล
  • แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
    • กลุ่มชาติพันธุ์เงาะป่ามันนิ (Mani Ethnic Group)
    • ประเพณีประเพณีลอยเรือ
    • ประเพณีไหว้ผีโบ๋
    • บ่อเจ็ดลูก
  • ผลิตภัณฑ์
    • Khao Coffee (karst topography)
    • ผ้ามัดย้อม ท่าอ้อย
    • หม้อข้าวหม้อแกงลิง
  • ติดต่อเรา
    • สมัครสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีสตูล
    • แบบสำรวจความคิดเห็น
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว
    • วิดีโอพรีเซนต์

สงวนลิขสิทธิ์ © 2560 อุทยานธรณีสตูล (Satun Geopark)