ความงดงามของลวดลายมัดย้อมที่มีสีสันเป็นเอกลักษณ์จากวัสดุทางธรณี บวกกับฝีมือวาดลายฟอสซิลลงบนผืนผ้า ที่ไม่เหมือนใคร วันนี้ช่วยให้ “กลุ่มปันหยาบาติ” กลับมาฟื้นฟูกิจการได้อีกครั้ง การอยู่ในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลทำให้กลุ่มปันหยาบาติกนำเอาวัสดุทางธรณีมาเป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะ อย่างผ้ามัดย้อมผืนนี้ใช้ดิน Terra rossa ที่เกิดจากย่อยสลายของหินปูน ทำให้ได้สีน้ำตาลอมส้มที่เป็นเอกลักษณ์ต่างจากผ้ามัดย้อมที่เคยเห็น รวมถึงการวาดลวดลาย ฟอสซิล ในทะเลโบราณยุคออร์โดวิเชียนช่วยเล่าเรื่องราวของอุทยานธรณีโลกได้เป็นอย่างดี วันนี้กลุ่มปันหยาบาติกกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ช่วยกระจายรายได้ให้กับคนในชุมชน รวมถึงดึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เคยออกไปหางานทำต่างถิ่น ให้กลับมายังบ้านเกิดเพื่อช่วยต่อยอดกิจการชุมชนเราสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้เลี้ยงครอบครัวได้แต่เมื่อก่อนรายได้มันไม่สามารถที่จะเลี้ยงครอบครัวเราได้อ่ะค่ะตอนนี้ที่กลับมาไม่ใช่เฉพาะกิ่งแต่ดึงน้องเข้ามาด้วยทำให้เด็กรุ่นใหม่ที่ทำงานที่อื่นหรือว่าเรียนจบใหม่สามารถมีรายได้หารายได้ในชุมชนของเราโดยไม่ต้องออกไปหางานทำที่อื่น “กลุ่มปันหยาบาติก ศิลปะที่นำเสนอเรื่องราวของอุทยานธรณีสตูล” ลวดลายที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวทางธรณีวิทยา ลวดลายผ้าบาติกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปันหยาบาติกมีความพิเศษกว่าที่อื่นเนื่องจากมีการพัฒนาและออกแบบวาดลวดลายที่สอดคล้องกับเรื่องราวทางธรณีวิทยาของอุทยานธรณีสตูลโดยประยุกต์เอาภาพจำลองสภาพแวดล้อมทะเลโบราณในยุคออร์โดวิเชียนหรือเมื่อประมาณ 444 ล้านปีก่อน มาทำเป็นลายผ้าโดยมี ปลาหมึกโบราณหรือนอติลอยด์ และไทรโลไบท์ เป็นตัวเอก
การใช้วัสดุจากอุทยานธรณี การใช้วัสดุธรรมชาติ พวกแร่ธาตุ ใบไม้ เปลือกไม้ ผลไม้ ที่เกิดในพื้นที่อุทยาน มาทำเป็นวัสดุย้อมสี เช่น สีแดงที่ได้จากดินที่ผุผังจากพื้นที่หินปูนที่ได้สีแดงจากธาตุเหล็ก สีเหลืองจากโคลน สีน้ำตาลจากเปลือกโกงกาง เป็นต้น ถือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อุทยานธรณี
บทบาทของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มได้รวบรวมแม่บ้านในพื้นที่ละงูมาเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำผ้าบาติก การเขียนลาย และเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของโรงเรียนในพื้นที่อำเภอละงูอีกด้วย