เจ็ดคต
เป็นถ้ำหินปูนมีลักษณะเป็นถ้ำธารน้ำลอด (stream cave) ขนาดถ้ำโดยประมาณ กว้าง 30 เมตร สูง 40 เมตร ยาว 1000 เมตร ลักษณะคดเคี้ยวไปมาผ่านสัณฐานถ้ำที่โดดเด่น 7 ลักษณะ ทำให้เป็นที่มาของชื่อถ้ำ 7 คต
ลักษณะทางธรณีวิทยา ตอนกลางพบหินปูนเนื้อดินสีเทาดำ และหินปูนเนื้อโดโลไมต์ อยู่ในกลุ่มหินทุ่งสง หมวดหินรังนก ยุคออร์โดวิเชียน โดยพบซากดึกดำบรรพ์ได้แก่ นอติลอยด์ และหอยฝาเดียว ส่วนทางใต้พบหินทรายแป้งสีเทา อยู่ในหน่วยหินยุคดิโวเนียน-ไซลูเรียน และพบชั้นหินคดโค้ง
เส้นทางท่องเที่ยวภายในถ้ำ
คตที่ 1 บัวคว่ำ เป็นบริเวณที่มีหินย้อยลักษณะคล้ายบัวคว่ำ
คตที่ 2 หัวสิงห์โต
คตที่ 3 ม่านเพชร เป็นหินย้อยสีขาวและสีน้ำตาล เป็นกลีบซ้อน กันคล้ายผ้าม่านและมีการก่อตัวของผลึกแร่
แคลไซต์ ทำให้เมื่อส่องแสงไฟไปกระทบจะเกิดประกายระยิบระยับ เหมือนม่านเพชร
คตที่ 4 ลานกุหลาบ
คตที่ 5 ส่องนภา ส่วนบนของถ้ำมีช่องทำให้แสงแดดส่องผ่านเข้ามาภายในถ้ำ
คตที่ 6 ประติมากรรมพระพุทธรูป
คตที่ 7 แผนที่ประเทศไทย
(ที่มาข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี)
ซากดึกดำบรรพ์ในบริเวณถ้ำเจ็ดคต
นอติลอยด์ (Nautiloid)
เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมมอลัสกา (Mollusca) หรือสัตว์จำพวกหอยชั้น Cephalopoda กลุ่มเดียวกับปลาหมึก และหอยงวงช้างในปัจจุบัน เดิมพบแพร่หลายในช่วงมหายุคพาลีโอโซอิกภายในพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูล
หอยฝาเดียว (Gastropod)
อยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) โดยหอยฝาเดียวมีเปลือกแข็งเพียงชิ้นเดียวห่อหุ้มลำตัว บิดเป็นเกลียวรอบแกน มีรูปร่างหลากหลาย ทั้งมีลักษณะเป็นเกลียวรูปกรวยคว่ำหรือแบน หลายชนิดมีฝาปิดใต้เปลือก พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนปลาย (ที่มาข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี)