ลักษณะทางธรณีวิทยา
บริเวณถ้ำพบหินปูนเนื้อดิน (Argillaceous limestone) สีเทาดำ และหินปูนเนื้อโดโลไมต์ (Dolomitic limestone) อยู่ในหมวดหินรังนก กลุ่มหินทุ่งสง ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) อายุประมาณ 485-444 ล้านปี พบซากดึกดำบรรพ์ได้แก่ นอติลอยด์ และหอยฝาเดียว
เส้นทางท่องเที่ยวภายในถ้ำ
คตที่ 1 “บัวคว่ำ” พบหินน้ำไหล (Flowstone) ลักษณะคล้ายบัวคว่ำ
คตที่ 2 “หัวสิงห์โต” พบหินน้ำไหล (Flowstone) ลักษณะคล้ายหัวสิงโต
คตที่ 3 “ม่านเพชร” พบม่านหินย้อย (Curtain) สีขาวและสีน้ำตาล เมื่อส่องแสงไฟไปกระทบจะเกิด
ประกายระยิบระยับ เหมือนม่านเพชร
คตที่ 4 “ลานกุหลาบหรือลานกุหลาบหิน” พบเกาเออร์ (Gours) ลักษณะเป็นทำนบขนาดเล็ก
เชื่อมต่อกันบนพื้นคล้าย กลีบกุหลาบ
คตที่ 5 “ส่องนภา” พบหน้าต่างถ้ำ (Cave window) ให้แสงแดดส่องผ่านเข้ามาภายในถ้ำ
คตที่ 6 “ประติมากรรมพระพุทธรูป” พบหินน้ำไหล (Flowstone) ลักษณะคล้ายพระพุทธรูป
คตที่ 7 “แผนที่ประเทศไทย” เมื่อพายเรือผ่านคตที่ 6 จะเห็นแสงจากปากทางออกถ้ำเป็นรูปแผนที่
ประเทศไทย
ผังถ้ำเจ็ดคต
ลักษณะเด่นที่พบในถ้ำเจ็ดคต
โดยเฉพาะบริเวณคตที่ 1 “บัวคว่ำ”
คตที่ 2 “หัวสิงห์โต” พบหินน้ำไหล (Flowstone) ลักษณะคล้ายหัวสิงโต
คตที่ 3 “ม่านเพชร” พบม่านหินย้อย (Curtain) สีขาวและสีน้ำตาล เมื่อส่องแสงไฟไปกระทบจะเกิด
ประกายระยิบระยับ เหมือนม่านเพชร
คตที่ 4 “ลานกุหลาบหรือลานกุหลาบหิน” พบเกาเออร์ (Gours) ลักษณะเป็นทำนบขนาดเล็ก
เชื่อมต่อกันบนพื้นคล้าย กลีบกุหลาบ
คตที่ 5 “ส่องนภา” พบหน้าต่างถ้ำ (Cave window) ให้แสงแดดส่องผ่านเข้ามาภายในถ้ำ
คตที่ 6 “ประติมากรรมพระพุทธรูป” พบหินน้ำไหล (Flowstone) ลักษณะคล้ายพระพุทธรูป
คตที่ 7 “แผนที่ประเทศไทย” เมื่อพายเรือผ่านคตที่ 6 จะเห็นแสงจากปากทางออกถ้ำเป็นรูปแผนที่
ประเทศไทย