ลักษณะถ้ำถ้ำวังคราม
มีความยาว 154.8 เมตร และความกว้าง 2-28 เมตร เพดานถ้ำสูง 5 – 25 เมตร จุดด้านในสุดของถ้ำเชื่อมออกไปสู่แอ่งน้ำหินปูนสีฟ้าอมเขียวบริเวณด้านหน้าเขาวังคราม นักท่องเที่ยวต้องเดินตามทางปูนข้ามแอ่งน้ำด้านหน้า และเดินขึ้นบันไดปูนจึงจะขึ้นสู่ถ้ำได้ โดยเส้นทางนี้ใช้เที่ยวชมใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 นาที
ลักษณะทางธรณีวิทยา
พื้นที่โดยรอบถ้ำวังครามส่วนใหญ่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และลักษณะทางธรณีวิทยา ประกอบด้วย หินแข็งกลุ่มหินทุ่งสง ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician) หินที่พบในพื้นที่ศึกษาประกอบด้วย หินปูนเนื้อดินสีเทาดํา (Argillaceous Limestone) หินปูนเนื้อโดโลไมต์ (Dolomitic Limestone) และพื้นที่ที่เป็นที่ราบเพียงบางส่วนประกอบด้วย ชั้นตะกอนยุคควอเทอร์นารี เป็นตะกอนเชิงเขา (Colluvium)
ก. ภาพถ่ายดาวเทียมแบบ 2 มิติ จาก Google Earth แสดงตำแหน่งถ้ำ
ข. แนวเขาวังคราม
ค. บริเวณปากถ้ำทางเข้า (ถ่ายจากภายในถ้ำออกไปหน้าถ้ำ)
(ที่มาข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี)
เส้นทางผังถ้ำถ้ำวังคราม
ถ้ำวังครามมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากถ้ำอื่น ๆ คือ มีทัศนียภาพหน้าถ้ำเป็นทะเลสาบโดยจะมีความสวยงามมากในฤดูฝน เนื่องจากน้ำจะมีสีฟ้าซึ่งเกิดจากการละลายของหินปูน โดยทางน้ำนี้จะมีตลอดปี เพียงแต่ในฤดูร้อนจะมีปริมาณลดลงแต่ไม่แห้ง โดยไหลมาจากชั้นโพรงหินปูนที่กักเก็บน้ำภายในถ้ำหินปูน เส้นทางของถ้ำวังครามมีเพียงคูหาหรือโถงถ้ำหลักเพียงโถงเดียว แต่จะมีโพรงชั้นล่างที่เป็นถ้ำน้ำเชื่อมตั้งแต่ปากถ้ำ และเห็นได้อีกทีบริเวณปลายถ้ำ
แผนผังถ้ำวังคราม ตําบลเขาขาว อําเภอละงู จังหวัดสตูล มีความยาว 154.8 เมตร (ที่มาข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี)
ประติมากรรมและสิ่งมีชีวิตในถ้ำ
ก. กลุ่มหินน้ำไหลและกลุ่มหินย้อยเกิดลดหลั่นกันเป็นชั้นทำนบ
ข. หินน้ำไหลสีน้ำตาล
ค. ตะกอนสารประกอบคาร์บอเนตที่เกิดใต้น้ำ
ง. หินย้อย
จ. หินน้ำไหลขนาดใหญ่บริเวณผนังถ้ำด้านขวา
ฉ. กลุ่มหินงอกจำนวนมากที่มีทรงสูง
ภาพแสดงสิ่งมชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยในถ้ำวังคราม
ก. แมงมุมแส้ (wipe spider)
ข. ค้างคาว
ค. แมงมุมถ้ำ
ง. กิ้งกือถ้ำ (centipede)
จ. จิ้งหรีดถ้ำ
ฉ. แมลงถ้ำ
(ที่มาข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี)