มันนิ เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยของเผ่านิกริโต (nigrito) อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยประมาณ 20-30 คน กระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยแถบจังหวัดพัทลุง ตรัง สตูล และยะลา คนไทยเรียกว่า เงาะป่า ยังมีการเรียกชื่อชนกลุ่มนี้อีกหลายชื่อแตกต่างกันไปตามกลุ่มย่อยหรือแต่ละท้องถิ่น ชื่อ เช่น ซาไก เซมัง คะนัง โอรังอัสลี ฯลฯ มานิมีลักษณะทางมานุษยวิทยากายภาพ นิสัยใจคอ สติปัญญา และวิถีชีวิต คล้ายคลึงกับชนเผ่านีกรอยด์ (negroid) แถบอัฟริกา คือมีผมหยิกติดหนังศีรษะ ผิวดำคล้ำ จมูกแบนกว้าง ริมฝีปากหนา ฟันซี่โต ใบหูเล็ก ตะโพกแฟบ นิ้วมือนิ้วเท้าใหญ่ รูปร่างสันทัด สูงประมาณ 140-150 เซนติเมตร ผู้หญิงมีขนาดร่างกายเล็กว่ากว่าผู้ชาย แต่แข็งแรง ส่ำสัน ชอบเปลือยอก ชาวมานิมีอุปนิสัยร่าเริง ชอบดนตรีและเสียงเพลง กลัวคนแปลกหน้า แต่เมื่อคุ้นเคยจะยิ้มง่ายและพูดคุยอย่างเปิดเผย มานิเกลียดการดูถูกเหยียบหยาม ชอบพูดและ ทำตรงไปตรงมา ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมเมื่อคุ้นเคย มานิแต่ละกลุ่มย่อยมีการไปมาหาสู่ เยี่ยมเยือนและมีการนับเครือญาติที่อยู่ตามถิ่นต่างๆ ด้วย ปัจจุบันยังมีชาวมานิหลายกลุ่มอยู่อาศัยในเขตป่าเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาสันกาลาคีรีในภาคใต้ของประเทศไทย ในจังหวัดสตูลพบกลุ่มชนชาวมานิในเขตอำเภอทุ่งหว้า ละงู และมะนัง มันนิมีภูมิปัญญาที่สั่งสมมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันและภูมิปัญญาบางส่วนมีการผสมผสานระหว่างความรู้ดั้งเดิมกับความรู้สมัยใหม่ และภูมิปัญญาที่ได้จากบทเรียนชีวิตจริงตามธรรมชาติมีองค์ความรู้ปรากฏอยู่ในเครื่องใช้ ยาสมุนไพร ความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ ช่วยให้สังคมชาวมานิมีภูมิต้านทานอย่างเข้มแข็งและพัฒนามาอย่างมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแม้ว่าสังคมโลกสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไปมากแล้วก็ตาม การสร้างศูนย์การเรียนรู้ในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลุ่มชาติพันธุ์เงาะป่ามานิเป็นทางเลือกหนึ่งในการสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของมนุษย์ควบคู่กับยอบรับในสิทธิการดำรงอยู่ตามแบบวิถีชีวิตดั้งเดิม
- หน้าแรก
- เกี่ยวกับอุทยานธรณีสตูล
- ผู้บริหารอุทยานธรณีสตูล
- กำเนิดแผ่นดินอุทยานธรณีสตูล
- หลักฐานพื้นทะเล 500 ล้านปี
- ผลิตก๊าชออกซิเจนให้กับโลก
- ภูมิประเทศอันหลากหลาย
- หลักฐานแรกวิถีชีวิตกับแผ่นดิน
- ประวัติศาสตร์มเชื่อมโยงผู้คน
- อุทยานธรณีในปัจจุบัน
- ความสำคัญในระดับนานาชาติด้านธรรมชาติ
- กฏหมายคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์
- ข้อมูลงานวิจัยและสื่อ
- เดินทางสู่อุทยานธรณีสตูล
- โรงแรม ที่พักและร้านอาหาร
- เครือข่ายอุทยานธรณีโลก
- แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล-หมู่เกาะ
- แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย
- แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
- แหล่งท่องท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต
- ผลิตภัณฑ์
- ติดต่อเรา